วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่่ 2


(1) ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ   ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่าง 
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
 1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

(2)  หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
           ตอบ   สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

(3) นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ

           ตอบ  นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยจำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจความต้องการโดยรวมของผู้ใช้โดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทางในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุดโดยผู้ใช้เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบงานที่ต้อง
การให้กับผู้ออกแบบระบบ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก ประเภทบัญชีให้กับผู้ออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นต้น


(4) ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
           ตอบ  มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะการปฏิบัติงานกับผู้ใช้อาจเกิดปัญหาในการใช้งานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานมือใหม่และไม่มีความชำนาญอย่างเพียงพอ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องระหว่างทำงาน ซอฟต์แวร์ที่นำเอามาใช้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเคย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ช่างเทคนิคเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนหมอที่ช่วยรักษาคนไข้ให้หายจากอาการผิดปกติบางอย่างได้นั่นเอง


(5Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
            ตอบ   เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมา ตรวจสอบดูว่าการเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมที่ดีหรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร มีทักษะในการเขียนโปรแกรมได้หลายๆภาษา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการสร้างไปจนสิ้นสุดกระบวนการ อาจอยู่ในทีมเดียวกับกลุ่มนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ มักพบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือการสร้างเกมส์หรือโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น

(6)  การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
            ตอบ  เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำ แหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network
Administrator) มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มี
การติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม สร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่มีเสถียรภาพและเฝ้าระวังไม่ให้เกิด
การถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามายังเครือข่ายในองค์กรได้


(7)  binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
             ตอบ  เลขฐานสอง ที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง ตัวเท่านั้นคือ กับ ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จึงจะสามารถเอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมีเพียงสองสถานะเท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0)

(8)   กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ   เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ด จากนั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์การแสดงผลบางอย่างเช่น จอภาพ เป็นต้น

 (9)  การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
            ตอบ   สามารถนำเข้าข้อมูลได้ วิธีด้วยกันคือ ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)                                      ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้า          ข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์               เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว จากสื่อบันทึกอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น
                       (10)  พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
    ตอบ   ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเหมือนกับ สมอง” ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็นส่วนๆคือหน่วยควบคุม (Control Unit)หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit)รีจิสเตอร์ (Register)

 (11)  ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
            ตอบ  ถือเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่องอย่างถาวร แม้ไฟจะดับก็ไม่ทำให้คำสั่งต่างๆหายไป ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่เพียงเท่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา

(12)   machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
           ตอบ      เป็นวงรอบหนึ่งๆในการทำงานของซีพียู จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆโดยการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บเข้าสู่รีจิสเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผล จากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่วนอื่นๆเรียกใช้ต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการทำงานทั้งหมด

(13)   ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
            ตอบ     ขั้นตอนการประมวลผล
     อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
        ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทาง  คณิตศาสตร์หรือการ เปรียบเทียบ 
          ขั้นตอนที่ 4 : Store Results เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ลงในหน่วยความจำ 
ทั้งขั้นตอนที่ 3 และ 4 เรียกรวมกันว่า "Execution Phase"เป็นช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์กระทำตามคำสั่งในชุดคำสั่งชุดหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่การไปนำข้อมูลมา (fetch) การถอดรหัส (decode) และการกระทำการ (execute) ตามข้อความสั่งนั้น ๆ และเวลาที่ใช้ในการกระทำเฟสนี้ เรียกว่า "Execution Time (E-time)"
ที่มา
หนังสือ
       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
เว็บไซต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น